เมนู

ภิกษุอาคันตุกะ 500 ที่ มีภัตสำหรับภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดินทาง 500 ที่
มีภัตสำหรับภิกษุไข้ 500 ที่ มีภัตสำหรับภิกษุผู้คอยดูแลภิกษุไข้ 500 ที่
มีอาสนะ 500 ที่ ปูไว้ประจำเป็นนิตย์ในเรือนทีเดียว เมื่อเป็นเช่นนั้น
ในกาลต่อมาพระศาสดาประทับนั่งในพระเชตวัน เมื่อทรงสถาปนาอุบาสก
ทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่ง
เอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ผู้ถวายทาน แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 2

อรรถกถาสูตรที่ 3


3. ประวัติจิตตคฤหบดี



ในสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า ธมฺมกถิกานํ ท่านแสดงว่า จิตตคฤหบดีเป็นเลิศกว่าพวก
อุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก.
ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ เขาบังเกิดใน
เรือนสกุล กรุงหังสวดี ต่อมาได้ฟังธรรมกถา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา
อุบาสกคนหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นเลิศกว่าอุบาสกผู้เป็นธรรมกถึก
จึงกระทำกุศลยิ่งยวดขึ้นรูป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายไปในเทวดา
และมนุษย์ตลอดแสนกัป ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดใน
เรือนแห่งนายพรานเนื้อ ต่อมา ในเวลาที่เขาสามารถจะทำการงานในป่าได้
แล้ว วันหนึ่ง เมื่อฝนตก ถือเอาหอกไปเพื่อจะฆ่าเนื้อ เข้าไปป่ากำลัง
มองดูตัวเนื้ออยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่งห่มผ้าบังสุกุลคลุมศีรษะนั่งอยู่บนหลัง
แผ่นหินที่เงื้อมเขาเกิดเองแห่งหนึ่ง เกิดความสำคัญขึ้นว่า พระผู้เป็นเจ้า

จักนั่งกระทำสมณธรรมอยู่รูปเดียว ดังนี้ รีบไปเรือน ให้ปิ้งเนื้อที่ได้มา
เมื่อวานไว้ที่เตาหนึ่ง หุงข้าวที่เตาหนึ่ง เห็นภิกษุสองรูปเที่ยวบิณฑบาตจึงรับ
บาตรของท่านนิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัด ไว้ ให้รับอาหารแล้วสั่งคนอื่น
ว่า พวกท่านจงเลี้ยงดูพระผู้เป็นเจ้า ตัวเองก็ใส่ข้าวลงในหม้อ เอาใบไม้ผูก
ปากหม้อแล้วถือหม้อเดินไป ระหว่างทางก็เลือกเก็บดอกไม้นานาชนิด
ถึงที่ที่พระเถระนั่ง ยกหม้อลงวางไว้ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า
ท่านเจ้าข้า โปรดสงเคราะห์ข้าพเจ้าด้วยเถิด รับบาตรของพระเถระมาแล้ว
บรรจุข้าวจนเต็ม วางไว้ในมือพระเถระ บูชาพระเถระด้วยดอกไม้ที่คละกัน
เหล่านั้น ยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่งแล้วกล่าวว่า ในสถานที่ข้าพเจ้าเกิด
แล้วเกิดแล้ว ขอบรรณาการ 1,000 จงมาถึงข้าพเจ้า ขอฝนดอกไม้ 5 สี
จงตกลง เหมือนอย่างการบูชาด้วยดอกไม้พร้อมกับบิณฑบาตมีรสอร่อย
ทำจิตให้แช่มชื่นฉะนั้น. พระเถระเห็นอุปนิสัยของเขาแล้ว บอกให้
กรรมฐานมีอาการ 32 เป็นอารมณ์. เขาทำกุศลจนตลอดชีวิตบังเกิดใน
เทวโลก. ในสถานที่เกิด ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงตามพื้นที่ประมาณแต่หัวเข่า
ทั้งตนเองก็ประกอบด้วยยศยิ่งกว่าเทวดาองค์อื่น ๆ.
เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาท-
กาลนี้ ก็บังเกิดในสกุลเศรษฐี ณ นครมัจฉิกาสัณ1ฑะ แคว้นมคธ. เวลา
เขาเกิด ฝนดอกไม้ 5 สี ตกลงตามเขตประมาณแค่หัวเข่าทั่วพระนคร.
ครั้งนั้น บิดามารดาของเขาคิดว่า บุตรของเรานำชื่อของตนมาด้วยตนเอง
แม้ในวันเกิด ทั่วพระนครก็วิจิตรด้วยดอกไม้ 5 สี จึงขนานนามเขาว่า
จิตตกุมาร. ย่อมาเขาดำรงอยู่ในฆราวาสวิสัย เมื่อบิดาล่วงลับ ไป ก็ได้
ตำแหน่งเศรษฐีในนครนั้น. สมัยนั้น พระเถระชื่อว่ามหานามะ ใน

1. บาลีเป็น มัจฉิกสันฑะ.

จำนวนพระเถระปัญจวัคคีย์ ไปถึงนครมัจฉิกาสัณฑะ จิตตคฤหบดีเลื่อมใส
ในอิริยาบถของท่าน จึงรับบาตรนำมายังเรือน บูชาด้วยบิณฑบาต
ท่านฉันเสร็จแล้ว ก็นำไปยังสวนชื่ออัมพาตการาม สร้างที่อยู่ถวายพระ-
เถระ ณ ที่นั้น ถือปฏิญญาเพื่อท่านอยู่รับบิณฑบาตในเรือนตนเป็นนิตย์.
แม้พระเถระเห็นอุปนิสัยของจิตตคฤหบดีนั้น เมื่อแสดงธรรมจึงแสดง
เฉพาะสฬายตนวิภังค์เท่านั้น. ไม่ช้านัก จิตตคฤหบดีก็บรรลุพระอนาคามิ-
ผล. เพราะตนมีการพิจารณาเห็นสังขารอันทุกข์บีบคั้นแล้วในภพก่อน.
ต่อมาวันหนึ่ง ท่านพระอิสิทัตตเถระมาอยู่ในที่นั้น เมื่อฉันเสร็จในเรือน
ของเศรษฐีแล้ว ถูกท่านพระเถระ [มหานาม] ผู้ไม่อาจแก้ปัญหา
นิมนต์ไว้จึงวิสัชนาปัญหาแก่อุบาสก เมื่อท่านทราบว่าเป็นสหายคฤหัสถ์
กันมาก่อน คิดว่า บัดนี้ ไม่ควรอยู่ในที่นี้ จึงหลีกไปตามสบาย.
วันรุ่งขึ้น เศรษฐีคฤหบดีจึงอ้อนวอนพระมหา1กัสสปเถระผู้เฒ่า เพื่อทำ
อิทธิปาฏิหาริย์. แม้พระเถระก็แสดงปาฏิหาริย์ที่สำเร็จด้วยเตโชสมาบัติ
คิดว่า บัดนี้ ไม่สมควรอยู่ในที่นี้ แล้วก็หลีกไปตามสบาย.
ต่อมาวันหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสอง มีภิกษุ 1,000 รูปเป็น
บริวาร ไปยังอัมพาตการาม. เศรษฐีคฤหบดีก็ตระเตรียมสักการะอย่างใหญ่
สำหรับ พระอัครสาวกทั้งสองนั้น. พระสุธัมมเถระ เมื่อระรานจิตตคฤหบดี
นั้น จึงคำว่าเศรษฐีด้วยวาทะว่านายขนมคลุกงา ถูกเศรษฐีนั้นไล่แล้ว
ไปสำนักพระศาสดา ได้โอวาท ดำรงอยู่ในโอวาทพระทศพล ขอขมา
จิตตคฤหบดีแล้วอยู่ในอัมพาตการามนั้นนั่นแหละ เจริญวิปัสสนาแล้ว
บรรลุพระอรหัต. ครั้งนั้น อุบาสกคิดว่า เราไม่พบพระศพลมาล่วง

1. ม. พ ระมหานามเถระ

เวลานั้นแล้ว แต่เมื่อเราไปเฝ้าพระศาสดา ไม่ควรไปมือเปล่า จึงให้
ตีกลองป่าวประกาศว่า คนเหล่าใดประสงค์จะเฝ้าพระทศพล คนเหล่านั้น
จงเอาเกวียน 500 เล่ม บรรทุกน้ำมัน, น้ำผึ้ง, น้ำอ้อยมากับเรา มี
บริษัท 2,000 คนแวดล้อมพากันไปเฝ้าพระศาสดา. ในหนทางทุก ๆ
โยชน์ เหล่าเทวดาก็พากันตั้งเครื่องบรรณาการไว้. จิตตคฤหบดีนั้นไป
สำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์. ขณะนั้น
ฝนดอกไม้ 5 สี ก็ตกลงมาจากอากาศ. พระศาสดาตรัสสฬายตนวิภังค์
โปรดคนเหล่านั้น ตามอัธยาศัยของจิตตคฤหบดี. เมื่อจิตตคฤหบดีนั้น
แม้ถวายทานแด่พระทศพลเพียงครึ่งเดือน ข้าวสารน้ำมันน้ำผึ้งและน้ำ
อ้อย เป็นต้น ที่นำมาจากเรือนของตน ก็มิได้หมดสิ้นไป. เครื่อง
บรรณาการที่ชาวกรุงราชคฤห์ส่งไปก็ยังเพียงพอ. แม้จิตตคฤหบดีนั้น
เฝ้าพระศาสดาแล้ว เมื่อจะกลับไปเมืองของตน ก็ได้ถวายทุกสิ่งทุกอย่าง
ที่นำมาด้วยเกวียนทั้งหลายแก่ภิกษุสงฆ์. เหล่าเทวดาก็ช่วยกันทำรัตนะ
7 เต็มเกวียนที่ว่างเปล่า. ในระหว่างมหาชนเกิดพูดกันขึ้นว่า จิตตคฤหบดี
ช่างมีการทำสักการะและการนับถือจริงหนอ. พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้น
จึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า
สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน ยโส โภคสนปฺปิโต
ยํ ยํ ปเทสํ ภชติ ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต.
คนผู้มีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล เพียบพร้อมด้วย
ยศและโภคสมบัติ ไปยังประเทศใด ๆ คนเขาก็
บูชาในประเทศนั้น ๆ.

ตั้งแต่นั้นมา จิตตคฤหบดีนั้น ก็มีอุบาสกที่เป็นอริยสาวก 500 คน

ห้อมล้อมเที่ยวไป. ย่อมาภายหลัง พระศาสดา เมื่อทรงสถาปนาเหล่า
อุบาสกไว้ในตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ทรงทำกถาชื่อจิตตสังยุตให้เป็น
อัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสก ผู้เป็นธรรมกถึก แล.
จบอรรถกถาสูตรที่ 3

อรรถกถาสูตรที่ 4


4. ประวัติหัตถกอาฬวกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี


ในสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า จตูหิ สงฺคหวตฺถูหิ ท่านแสดงว่า หัตถกอาฬวก-
อุบาสก เป็นเลิศกว่าพวกอุบาสกผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุ 4
อย่าง.
ได้ยินว่า หัตถกอาฬวกอุบาสกนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ปทุมุตตระ บังเกิดในเรือนสกุส กรุงหังสวดี ต่อมา ฟังธรรมกถาของ
พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาอุบาสกผู้หนึ่ง ผู้ประกอบด้วย
สังคหวัตถุ 4 ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ จึงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป
ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ตลอดแสนกัป
ในพุทธุปบาทกาลนี้ถือปฏิสนธิในพระราชนิเวศน์ของพระเจ้าอาฬวกะ
กรุงอาฬวี แคว้นอาฬวี รุ่งขึ้นก็ถูกส่งตัวไปให้อาฬวกยักษ์ พร้อมด้วย
ถาดอาหาร. ในเรื่องนั้น มีเรื่องกล่าวตามลำดับ ดังนี้.